ประกันรถยนต์กรณีเสียชีวิต ช่วยผ่อนหนักเป็นเบาจริงมั๊ย?

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะมันหมายถึงความสูญเสีย มากบ้าง น้อยบ้าง โชคดีก็อาจทำให้รถเสียหาย แต่ถ้าโชคร้ายก็อาจบาดเจ็บ เสียอวัยวะ ไปจนถึงบุคคลอันเป็นที่รักเสียชีวิต เมื่อคิดถึงตรงนี้ก็รู้สึกหดหู่เหลือเกินนะคะ ลำพังทรัพย์สินเสียหายก็ยังพอซ่อมแซมได้ แต่ถ้าบุคคลอันเป็นที่รักมีอันต้องจากไปล่ะคะ คงจะทำใจได้ยาก แต่มันก็จะปัญหาอื่น ๆ ที่ตามมาอีก เช่นต้องหาเงินทองมาจัดงานศพ มาซ่อมรถ เรียกได้ว่าชีวิตไม่เหมือนเดิมทันทีค่ะ ดังนี้แล้วการทำประกันรถยนต์กรณีเสียชีวิต ย่อมช่วยทำให้ภาระอันหนักอึ้งผ่อนคลายลงได้บ้างนะคะ

ประกันรถยนต์กรณีเสียชีวิต

ประกันรถยนต์กรณีเสียชีวิต ในที่นี้เราต้องแบ่งออกเป็น 2 กรณีนะคะ

1.ประกัน พรบ. เป็นประกันภาคบังคับ คือมีกฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกคันต้องทำ เพราะกฏหมายเล็งเห็นถึงความสำคัญและยังเป็นการบรรเทาความเสียหายในกรณีเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง และหากมีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น ประกันชนิดนี้จะจ่ายให้ก่อนเลยเบื้องต้น แบ่งเป็น

    • เป็นค่ารักษาพยาบาล 30,000 บาท
    • เป็นค่าปลงศพ, ค่าจัดการดูแลงานศพ 35,000 บาทต่อคน

โดยยังไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด ซึ่งบริษัทประกันภัยต้องจ่ายให้กับผู้ที่ประสบภัยจากรถ ภายใน 7 วัน และสองกรณีนี้รวมกันต้องไม่เกิน 65,000 บาท และต่อมาหากมีการพิสูจน์แล้ว จะมีการจ่ายเพิ่มอีก 300,000 บาทต่อคน ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายถูกนะคะ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะได้รับเพียงค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

2.ประกันภาคสมัครใจ ก็คือ ประกันชั้น 1, แบบ 2+, แบบ 3+ เป็นต้น นั่นเอง โดยการที่บริษัทประกันจะจ่ายชดเชยก็ยังต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า ผู้ที่เสียชีวิตนั้นยังมีผู้ที่ต้องดูแลอุปการะอยู่หรือไม่ เช่น คุณพ่อ, คุณแม่ หรือลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ การจ่ายเบี้ยก็จะแตกต่างกันไป และที่สำคัญก็คืออยู่กับประเภทของประกันที่ทำไว้ด้วยนะคะ ซึ่งต้องไปดูในรายละเอียดของกรมธรรม์ที่ทำว่าให้วงเงินความคุ้มครองเท่าไหร่ อย่างไรบ้างอีกครั้งหนึ่งด้วย

 

แม้จะดูยุ่งยากวุ่นวายไปสักหน่อย แต่การทำประกันรถยนต์ไว้ ก็ทำให้คุณมีความอุ่นใจมากขึ้นนะคะ ลำพังต้องสูญเสียผู้เป็นที่รักก็แย่พออยู่แล้ว หากต้องมาขัดสนเงินทองอีกยิ่งรู้สึกเหมือนทุกข์มันทวีคูณค่ะ จึงถือได้ว่า ประกันรถยนต์กรณีเสียชีวิต ช่วยคุณได้มากเลยทีเดียว และหากเงินทองไม่ได้มาก ก็มีแผนประกันหลาย ๆ บริษัทที่รอจะให้คำแนะนำกับคุณอยู่ เช่น ผ่อนผ่านบัตร, ผ่อนผ่านบริษัท และอีกหลายวิธีค่ะ ดังนั้นอย่าลืมทำประกันทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจกันนะคะ