รถเก่าก็มีหัวใจ มาทำประกันรถยนต์เก่ากันเถอะ!
เมื่อมีรถเก่าอยู่ในมือ ไม่ว่าจะได้รับมรดกตกทอดมาจากคุณพ่อคุณแม่ หรือแม้แต่ยังไม่มีกำลังเพียงพอที่จะเปลี่ยนรถใหม่ แต่ก็อยากทำประกันรถยนต์เก่าของคุณ เพื่อให้เกิดความคุ้มครองที่ช่วยผ่อนหนักเป็นเบาจากค่าซ่อมแซมรถ หรือค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ลองมาดูกันหน่อยว่ามีประกันรถยนต์แบบไหนที่น่าสนใจบ้างค่ะ
หากรถคุณไม่ได้ทำประกันชั้น 1 มาตั้งแต่แรกและทำต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ ทุกปี เมื่อรถมีอายุที่มากขึ้นก็ยากที่บริษัทประกันจะรับทำประกันชั้น 1 หรือประกันรถยนต์เก่าให้กับคุณค่ะ แต่ก็ยังมีประกันแบบอื่น ๆ ที่ดีไม่แพ้กันรองรับอยู่ค่ะ
- ประกันรถยนต์แบบ 2+ ประกันชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนใช้รถใหม่ ๆ ที่อาจผ่านปีแรกมาแล้ว โดยจะรับทำประกันรถตั้งแต่รถใหม่ไปจนอายุรถสูงสุดถึง 15-20 ปี และบางที่อาจรับไม่จำกัดอายุรถเสียด้วย โดยประกันรถยนต์แบบ 2+ นี้ให้ความคุ้มครองดังนี้ค่ะ
- คุ้มครองรถคุณและคู่กรณี แต่ต้องเป็นกรณีรถชนรถเท่านั้น และต้องมีคู่กรณีค่ะ
- ไม่คุ้มครองหากเป็นกรณี เบียดเสา ชนรั้ว หรืออื่น ๆ ที่ไม่มีคู่กรณี
- คุ้มครองรถสูญหาย ไฟไหม้ และบางบริษัทรวมความคุ้มครองน้ำท่วมให้ด้วย
- เบี้ยถูก ประมาณ 5,000-8,000 บาท ต่อปีขึ้นอยู่กับรายละเอียดในความคุ้มครอง
- ประกันรถยนต์แบบ 3+ ประกันชนิดนี้ก็เป็นขวัญใจรถเก่าอยู่เหมือนกันค่ะ เพราะให้ความคุ้มครองประกันรถยนต์เก่าที่ดีกว่าประกันรถยนต์ชั้น 3 โดยจะรับทำประกันรถตั้งแต่รถใหม่ไปจนอายุรถสูงสุดถึง 20-25 ปี และบางที่อาจรับไม่จำกัดอายุรถเสียด้วย โดยให้ความคุ้มครองดังนี้ค่ะ
- คุ้มครองรถคุณและคู่กรณี แต่ต้องเป็นกรณีรถชนรถเท่านั้น และต้องมีคู่กรณีค่ะ
- ไม่คุ้มครองหากเป็นกรณี เบียดเสา ชนรั้ว หรืออื่น ๆ ที่ไม่มีคู่กรณี
- ไม่คุ้มครองรถสูญหาย ไฟไหม้
- บางบริษัทให้ความคุ้มครองน้ำท่วมด้วย
- เบี้ยถูกมาก ประมาณ 2,000-8,000 บาท ต่อปีขึ้นอยู่กับรายละเอียดในความคุ้มครอง
- ประกันรถยนต์ชั้น 3 สำหรับรถอายุมาก ๆ ที่มักมีเหตุการณ์เฉี่ยวชนบ่อยแต่หาคู่กรณีไม่ได้ หรือผู้ขับขี่ที่มีฝีมือการขับที่เก่งพอตัว หรือการเงินอาจไม่คล่องกระเป๋า อาจทำเพียงประกันชั้น 3 ก็ได้ โดยค่าเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 2,000-6,000 บาท ต่อปีขึ้นอยู่กับรายละเอียดในความคุ้มครอง
จะเห็นได้ว่าราคาค่าเบี้ยประกันรถยนต์เก่านั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบ 2+, แบบ 3+ หรือชั้น 3 ค่าเบี้ยประกันรายปีก็ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ ดังนั้นคุณสามารถขอรายละเอียดความคุ้มครองในบริษัทประกันมาเทียบกันอีกครั้งเพื่อการตัดสินใจก็ได้นะคะ