ข้อควรรู้! ทำประกันรถยนต์ ต่อภาษีเลยได้มั๊ย?

เรามักมีความเข้าใจผิด หรือเข้าใจคลาดเคลื่อนในหลาย ๆ เรื่องเป็นปกติกันอยู่แล้วนะคะ แม้แต่เรื่องประกันรถยนต์ที่เราต้องใช้รถราเพื่อการสัญจรในชีวิตประจำวันอยู่แล้วก็ตาม หลายคนยังคิดว่าต้องทำประกันชั้น 1 ชั้น 2 ก็เรียกว่าประกันรถยนต์ ต่อภาษีได้ หลายคนไม่ทราบว่าต้องทำประกัน พรบ. ด้วย หลายคนไม่ทราบว่าต่อ ประกัน พรบ. อย่างเดียวก็ได้ บทความนี้เรามาลองมาทำความเข้าใจกันใหม่ดูนะคะ

ประกันรถยนต์ ต่อภาษี

ความเชื่อแรก ที่เข้าใจว่าต้องทำประกันชั้น 1 ชั้น 2 หรือแบบอื่น ๆ ก่อน จึงเรียกว่าทำประกันรถยนต์ ต่อภาษีได้

ความเป็นจริง ประกันชั้น 1, ชั้น 2, ชั้น2+ หรือแบบอื่น ๆ นั้น ถูกเรียกว่าประกันภาคสมัครใจ ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการสมัครใจที่จะทำ ดังนั้นมันจึงไม่ใช่สิ่งที่กฏหมายบังคับ โดยประกันเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณทำเพื่อให้เกิดความคุ้มครองเพิ่มเติมในร่างกายและทรัพย์สิน ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบความคุ้มครองที่คุณเลือกนั่นเอง จึงจะทำหรือไม่ทำก็ได้ค่ะ

 

ความเชื่อที่ 2 ไม่ทราบว่าต้องทำประกัน พรบ. ด้วย

ความเป็นจริง หากคุณติดต่อโบรคเกอร์หรือบริษัทประกันเพื่อทำประกันภาคสมัครใจ ซึ่งจะเป็นประกันประเภทไหนก็แล้วแต่นั้น ทางบริษัทประกันหรือโบรคเกอร์มักจะถามคุณต่อว่า ทำ พรบ.ด้วยเลยไหม เพื่อจะได้ออกความคุ้มครองในที่เดียวกันนั่นเอง ทำให้คุณอาจเข้าใจว่ามันเป็นอย่างเดียวกัน โดยประกัน พรบ.นั้นเป็นเรื่องของกฏหมายบังคับ ที่ยานพานะทางบกทุกคันต้องทำประกันชนิดนี้ บริษัทฯ จะออกกรมธรรม์ได้ภายในไม่กี่นาที และจะมีส่วนล่างของกรมธรรม์ที่สามารถฉีกออก และใช้ส่วนนี้ในการต่อภาษีรถยนต์นั่นเอง ส่วนประกันภาคสมัครใจ กรมธรรม์จะออกได้ภายหลัง ประมาณ 1-2 เดือน แต่ก็ให้ความคุ้มครองกับคุณได้ทันทีที่ชำระเงิน

 

ความเชื่อที่ 3 หลายคนไม่ทราบว่าต่อ ประกัน พรบ. อย่างเดียวก็ได้

ความเป็นจริง คุณอาจคิดว่าต้องต่อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจร่วมด้วยเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วหากคุณไม่ประสงค์จะทำประกันอื่น ๆ ก็สามารถทำได้ แต่ประกัน พรบ. นั้นจำเป็นต้องทำ เพราะกฏหมายบังคับ เพื่อเป็นความคุ้มครองพื้นฐานเมื่อเกิดอุบัติเหตุค่ะ

 

เรามาสรุปข้อมูลกันให้เข้าใจอีกครั้งนะคะ ดังนี้

  1. ประกันรถยนต์แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ ประกัน พรบ. และประกันภาคสมัครใจที่เรามักเรียกตามการคุ้มครองว่า ประกันชั้น 1, ชั้น 2+, ชั้น 3+ เป็นต้น ซึ่งจะทำรวมกันหรือไม่รวมก็ได้ และทำพร้อมกันหรือไม่พร้อมกันก็ได้เช่นกัน โดยแต่ละอย่างจะมีอายุ 1 ปี หากทำไม่พร้อมกันก็จะหมดอายุต่างกัน ซึ่งอาจยากต่อการจำเท่านั้นเอง
  2. ประกันรถยนต์ ต่อภาษี หมายถึง การที่คุณต้องทำ ประกัน พรบ. และนำส่วนท้ายของกรมธรรม์ไปเสียภาษีรถยนต์ประจำปี

บทความนี้คงพอทำให้คุณเข้าใจในเรื่องประกันรถยนต์ ต่อภาษี ได้มากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปพูดคุยกับบริษัทประกันได้อย่างเข้าใจตรงกันค่ะ