ประกันรถยนต์ บังคับ จะบังคับทำไม?
การมีรถยนต์ไม่ได้หมายความว่าคุณจะใช้งานไปวัน ๆ โดยไม่ดูแล หรือปกปักรักษารถของคุณเลย ไม่ว่าจะเป็นการเติมน้ำมัน, การบำรุงรักษา เช่นเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนถ่ายของเหลว เปลี่ยนยาง เป็นต้น ล้วนเป็นสิ่งต้องทำ รวมไปถึงการทำประกันรถยนต์ให้กับรถ ทั้งนี้เพื่อแบ่งเบาภาระของคุณเองในเวลาเกิดเหตุ ซึ่งในประกันรถยนต์นั้นก็มีทั้งส่วนที่เป็น ประกันรถยนต์ บังคับ และประกันรถยนต์ สมัครใจ แล้ว 2 ส่วนนี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มาดูกันค่ะ
มาทำความเข้าใจ ประกันรถยนต์ ภาคบังคับกันก่อนนะคะ ประกันรถยนต์แบบนี้เรามักได้ยินคนอื่น ๆ เขาพูดกันว่า ประกัน พรบ. หรือ พรบ. โดยประกันประเภทนี้รถทุกคันที่มีทะเบียนต้องจัดทำประกันชนิดนี้ติดรถไว้ เนื่องด้วยเป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด หากปล่อยให้หมดอายุ ไม่ต่อให้เรียบร้อย หากถูกตรวจพบก็จะโดนปรับ อีกทั้งไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ และหากทิ้งให้หมดอายุหลายปี อาจถูกเพิกถอนทะเบียนรถได้เลยค่ะ
นอกจากนี้ประกันรถยนต์ บังคับ นี้จะเป็นประกันตัวแรกที่เข้ามาช่วยผู้เกี่ยวข้องทุกคนจากอุบัติเหตุให้ได้รับการเยียวยาค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นโดยยังไม่มีการไต่สวนความถูกผิดในคดี และหากเมื่อตรวจสอบเรียบร้อยและคุณเป็นฝ่ายถูก ก็จะได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอีกด้วยค่ะ
ส่วนประกันอีกแบบเรียกว่า ประกันรถยนต์ ภาคสมัครใจ ชื่อก็บอกตรงตัวนะคะว่าต้องสมัครใจที่จะทำ ก็ย่อมแสดงว่าเป็นส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาจากประกันรถยนต์ บังคับนั่นเอง เพราะลำพังตัวประกัน พรบ. นั้นคุ้มครองดูแลแค่ในเรื่องการบาดเจ็บ ทุพพลภาพ เสียชีวิตเท่านั้น แต่ไม่ครอบคลุมต่อการซ่อมแซมรถยนต์ทั้งของคุณและคู่กรณี ซึ่งหากเราไม่ต้องการให้เป็นภาระ หรือความยากลำบากในชีวิต ก็ควรเสริมทำประกันภาคสมัครใจเข้าไปด้วย โดยสามารถเลือกได้หลากหลายแผนประกัน เช่น ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2, ประกันชั้น 2+, ประกันชั้น 3 เป็นต้น ซึ่งจะเลือกแบบไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการในการคุ้มครองของคุณเอง เพราะแต่ละแผนก็จะให้ความคุ้มครองมากน้อยแตกต่างกันไป รวมไปถึงขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋าที่จะต้องจ่ายออกไปของคุณเองด้วยค่ะ
ซึ่งหากคุณต้องการทำ ประกันรถยนต์ บังคับ ควบคู่กับประกันรถยนต์ สมัครใจ ก็แนะนำให้ทำไปพร้อม ๆ กันกับบริษัทประกันเดียวกันเลยนะคะ เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็สามารถที่จะจัดการเรื่องแจ้งเคลม หรือเบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายและสะดวก อีกทั้งไม่ต้องมาจดจำวันหมดอายุให้เยอะแยะ เพราะเมื่อทำพร้อมกันก็จะหมดอายุพร้อมกันนั่นเองค่ะ
แต่สิ่งสำคัญก็คือ การขับขี่รถยนต์ คุณจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังตลอดเวลาในระหว่างการขับขี่ เพราะไม่ใช่เพียงแค่คุณที่จะได้รับผลกระทบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หากแต่ยังเป็นผู้โดยสารภายในรถ หรือผู้ใช้ถนน หรือแม้แต่คนข้างหลังซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัวที่กำลังรอคุณกลับบ้านค่ะ