จำนำเล่มทะเบียนรถ กับ 5 เรื่องต้องรู้ก่อนขอสินเชื่อ
ปัจจุบันมีรูปแบบการขอสินเชื่อรถยนต์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น และสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือบริษัทไฟแนนซ์ต่าง ๆ ก็พยายามงัดกลยุทธ์ที่จะได้ลูกค้าไปเป็นของตน จึงมีทั้งเรื่องระยะเวลาการผ่อน และดอกเบี้ยที่น่าสนใจมาก ๆ เลยทีเดียวค่ะ แต่หากคุณจะทำเรื่องขอสินเชื่อรถยนต์ โดยใช้วิธีจำนำเล่มทะเบียนรถ นั้น มีอยู่ 5 เรื่องที่คุณต้องรู้
จำนำเล่มทะเบียนรถ กับ 5 เรื่องต้องรู้ก่อนขอสินเชื่อ
หากคุณต้องการขอสินเชื่อรถยนต์ ประเภทจำนำเล่มทะเบียนรถ มีสิ่งที่คุณควรทราบไว้ก่อน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ดังต่อไปนี้
- ประเภทการจำนำเล่ม แบ่งคร่าว ๆ ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- แบบโอนเล่ม ลักษณะเช่นนี้มักใช้สำหรับการรีไฟแนนซ์ คือมักเป็นรถที่ยังทำการผ่อนไม่หมด ก็จะทำเรื่องขอสินเชื่อกับบริษัทใหม่เพื่อปิดบัญชีกับบริษัทเก่า และมักมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายส่วนตัวเพิ่มเติม
- แบบไม่โอนเล่ม จะเป็นการที่คุณผ่อนรถยนต์จนหมด ได้ครอบครองกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เรียบร้อย และคุณนำเล่มทะเบียนนั้นมาเป็นหลักประกัน เพื่อทำเรื่องขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน
- ดอกเบี้ยอาจไม่ได้ถูกกว่า เมื่อทำเรื่องกับที่ใหม่ อาจไม่ได้การันตีว่าคุณจะได้รับดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินใหม่ถูกกว่าบริษัทเดิม แต่ต้องลองศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มค่า รวมไปถึงลองดูหลาย ๆ บริษัทควบคู่ไปด้วย
- วงเงินที่ได้ แม้ว่าสถาบันการเงินนั้น ๆ จะโปรโมทว่าให้วงเงินสูง แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถ, รุ่น, ปีจดทะเบียน, สภาพรถ และอื่น ๆ ประกอบกัน ดังนั้นวงเงินที่คิดไว้มาก ๆ ก็อาจจะไม่ได้ตามนั้นเสมอไปนะคะ
- ต้องมีคนค้ำประกันหรือไม่ เรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการเงินนั้น ๆ หากคุณเองไม่ค่อยอยากไปรบกวนให้ใครมาค้ำประกันให้ ก็ต้องทำเรื่องกับสถาบันการเงินที่ระบุเรื่องนี้ลงไปด้วยนะคะ
- ต้องทำเรื่องจังหวัดเดียวกันหรือไม่ บางครั้งรถของคุณอาจเป็นทะเบียนตามจังหวัดที่คุณมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่ตัวคุณนำรถมาใช้ทำงานในอีกจังหวัด เมื่อประสบปัญหาด้านการเงิน ต้องการขอสินเชื่อ ก็ไม่ต้องเป็นกังวล สามารถทำเรื่องขอสินเชื่อได้ แม้จะเป็นคนละจังหวัดกัน บางบริษัทจะให้คุณส่งหลักฐานการอยู่จังหวัดนั้น ๆ เช่น หลักฐานการเช่าบ้าน เป็นต้น ซึ่งสามารถติดต่อสอบถามได้ในแต่ละบริษัทฯ
เมื่อวางใจกับ 5 เรื่องต้องรู้ ก่อนจำนำเล่มทะเบียนรถ กันแล้ว คุณ ๆ ก็ค่อย ๆ เฟ้นหาหลาย ๆ บริษัท เปรียบเทียบจนพอใจ และเลือกบริษัทในดวงใจไว้ประมาณ 3 แห่ง แล้วลองติดต่อสอบถามในรายละเอียดลึก ๆ อีกครั้ง แล้วค่อยตัดสินใจขั้นสุดท้ายก็คงไม่สายเกินไปนักนะคะ แต่กลับจะทำให้คุณได้สถาบันการเงินที่ถูกใจและตรงกับความต้องการมากที่สุดค่ะ